Pulley
ธุรกิจจัดจำหน่าย Absorption
นวัตกรรมพลังงานทางเลือก
Absorption Chiller
 
          การบริโภคพลังงานของคนไทยในปัจจุบันส่วนหนึ่งเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศนอกเหนือจากพลังงานที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งเป็นพลังงานที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะพลังงานที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น น้ำ/ไฟฟ้าที่นำเข้า ลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียม ถ่านหิน(นำเข้า) ซึ่งเป็นผลให้ในแต่ละปีมีการใช้พลังงานในปริมาณที่สูงมากและความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ยังคงมีอยู่ และคาดว่าจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการพัฒนาประเทศที่ต่อเนื่องจึงทำให้มีการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
 
          ความได้เปรียบของไทยที่เป็นประเทศเกษตรกรรม ทำให้มีศักยภาพในการผลิตพลังงานชีวมวลที่ได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว แกลบ ทะลายปาล์ม ใบยอดอ้อย ซังข้าวโพด เศษไม้ เป็นต้น  ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่จะแปลงสภาพให้เป็นเชื้อเพลิงในเชิงพาณิชย์ และยังไม่รวมถึงพลังงานลม และพลังงานน้ำ ที่มีต้นทุนการผลิตในระดับที่ต่ำด้วยส่วนใหญ่เชื้อเพลิงที่ได้เหล่านี้จะนำไปใช้เพื่อผลิตไฟฟ้า

/data/content/34/cms/bceopqrtvz47.jpg

          ในระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศเดิมที่ใช้กันมาถึงปัจจุบัน จะอาศัยหลักการของเครื่องกลด้วยระบบอัดไอ Vapor Compression ที่ต้องการปริมาณพลังงานในรูปของพลังงานไฟฟ้าเพื่อไปขับเคลื่อนให้เกิดการทำงานโดยผ่านทางเครื่องอัดน้ำยา (Compressor) ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นวิธีการใหม่เพื่อลดการใช้พลังงาน ระบบดังกล่าวคือระบบแบบดูดซึม (Absorption) พลังงานที่ต้องการใช้ในระบบเพื่อให้เกิดการทำงานจะอยู่ในรูปของพลังงานความร้อน
 
พลังงานความร้อนที่นำมาใช้มาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
  • หม้อไอน้ำที่ใช้ในปัจจุบัน ที่ยังมีปริมาณไอน้ำเหลือเพียงพอที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตปกติ
  • หม้อไอน้ำใหม่ที่มีการติดตั้งเพื่อนำมาใช้กับระบบทำความเย็นโดยเฉพาะ
  • การนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Waste Heat Recovery) จากก๊าซที่ปล่อยทิ้งไว้ระบบเครื่องยนต์ก๊าซหรือกังหันก๊าซ (Gas Engines or Gas Turbines)
  • ไอน้ำความดันต่ำจากการปล่อยทิ้งของกังหันไอน้ำ (Steam Turbines)
  • น้ำร้อนจากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ หรือน้ำร้อนที่เหลือทิ้งจากขบวนการผลิต
 
          ทางบริษัท โอ.อี.เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ขอนำเสนอพลังงานทางเลือกที่จะนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ Absorption Chiller เป็นระบบทำความเย็นที่ไม่ได้ใช้พลังงานเชิงกล หรือพลังงานกลไฟฟ้า เช่น Compressor และ Motor เหมือนระบบทำความเย็นทั่วไป แต่จะอาศัยคุณสมบัติของสารในการดูดซับน้ำ และพลังงานความร้อน ทำหน้าที่เป็นตัวขับเคลื่อนแทน ทำให้เกิดการประหยัดพลังงานช่วยป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพของระบบขึ้นอยู่กับคุณภาพของแหล่งความร้อน การทำงานในสภาวะ Part-load ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ค่าใช้จ่ายในการทำงานและการซ่อมบำรุงต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบ Vapor Compression
 
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเหมาะสำหรับกลุ่มโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหณ่ที่ต้องการประหยัดไฟฟ้าในโรงงานเพิ่มขึ้น เช่น
  • กลุ่มโรงงานที่มีเชื้อเพลิงก๊าซ เช่น ก๊าซธรรมชาติ หรือ ก๊าซธรรมชาติไว้ใช้งาน
  • กลุ่มโรงงาน ปั่นด้าย ผลิตเส้นใย และทอด้าย
  • กลุ่มโรงงานแปรรูปและส่งออกปลาทูน่า
  • กลุ่มโรงงานอาหารและเครื่องดื่ม
  • กลุ่มโรงงานปลิตน้ำซอสปรุงรส และผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร
  • กลุ่มโรงงานที่มีเครื่องจักรไอน้ำ (Boiler) และยังมีปริมาณไอน้ำเหลือเพียงพอ ที่จะนำมาใช้ในระบบนอกจากที่ใช้กระบวนการผลิตปกติ
  • กลุ่มโรงงานที่อยู่ใกล้แหล่งพลังงานชีวมวล เช่น ฟางข้าว แกลบ ทะลายปาล์ม ใบยอดอ้อย ซังข้าวโพด เศษไม้ เปลือกและเศษยางพารา เป็นต้น
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ Absorption Chiller
  • ใช้พลังงานความร้อนเป็นแหล่งพลังงาน ทำให้ประหยัดต้นทุนด้านพลังงานมากกว่า 50 % เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้พลังงานไฟฟ้าทั่วไป
  • ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องต่ำ
  • สามารถปรับประสิทธิภาพการทำงานได้ตั้งแต่ 10 – 100 %
  • ง่าย สะดวกต่อการใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงต่ำ
  • ปราศจากมลภาวะทางเสียงมีการสั่นสะเทือนและเสียงดัง ในขณะปฏิบัติงานต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับระบบอัดไอ
  • ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกับโอโซนในชั้นบรรยากาศ เนื่องจากสารทำความเย็นที่ใช้ คือ น้ำ ในขณะที่แบบอัดไอใช้ CFC

หมายเหตุ

   1)  อัตราค่าพลังงานเชื้อเพลิงชนิดต่างๆ ที่ใช้ผลิตพลังงานไอน้ำ

/data/content/34/cms/bcfgloqsvxz2.jpg/data/content/34/cms/cfhijkorsux1.jpg
 
   2)  ต้นทุนตัวเครื่อง (Chiller) แบบใช้พลังงานไฟฟ้าขนาด 300 Tons ราคาประมาณ 3,400,000 บาท ค่าพลังงานไฟฟ้าต่อปี 5,054,400 บาท แต่ Absorption Chiller ขนาดเดียวกันราคาประมาณ 5,400,000 บาท แต่ราคาไม้ยางพาราเพื่อผลิตพลังงานความร้่อน (Steam) ทั้งปี 2,857,680 บาท
   3)  จากราคา Absorption Chiller จะสูงกว่าตัวเครื่อง Chiller แบบใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ประมาณ 2,000,000 บาท แต่เมื่อต้นทุนพลังงานความร้อน  (Steam) ผลิตจากชีวมวลมีต้นทุนต่ำกว่าปีละ 2 ล้านบาทเศษ จึงทำให้ราคาเครื่อง Chiller ทั้ง 2 ประเภท มีราคาตั้นทุนซื้อใกล้เคียงกัน (ในเวลา    1 ปี) เมื่อผ่านการใช้งานครบในปีแรก
   4)  แต่ปีต่อๆไป Absorption Chiller จะประหยัด (กำไร) เงินด้านพลังงานไม่น้อยกว่าปีละ 2 ล้านบาท ทุกๆ ปี (อายุการใช้งานของเครื่อง 15 ปีขึ้นไป)