นวัตกรรมอนุรักษ์พลังงาน | |
Ice Thermal Storage (ระบบกักเก็บพลังงานน้ำเย็นด้วยน้ำแข็ง) | |
จากการประมาณการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของคนไทยปรับเปลี่ยนไปตามอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเมื่อปี พ.ศ. 2534 การใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในช่วงเวลา 19.00 – 22.00 น. มีความต้องการใช้ไฟฟ้า 8,000 กว่าเมกะวัตต์ แสดงว่าพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว การใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในช่วงเวลาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โรงไฟฟ้าทุกโรงจะเดินเครื่องในช่วงเวลาที่คนในบ้านเรือนดำเนินกิจกรรมส่วนช่วงเวลาอื่นที่ไม่มีการใช้ไฟ โรงไฟฟ้าทุกโรงจะหยุดการทำงาน เพราะการผลิตไฟฟ้าต่างจากการผลิตสินค้าประเภทอื่นที่ไม่สามารถผลิตแล้วสามารถเก็บสำรองได้ (Real Time Product) |
|
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539 เป็นต้นมาความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดเปลี่ยนไปอยู่ช่วงตอนกลางวัน โดยเฉพาะช่วงเวลา 9.00 -17.00 น. สาเหตุที่ทำให้การใช้ไฟฟ้าสูงสุดเปลี่ยนไปจาก 10 ปี ที่แล้ว คือ “อาคารธุรกิจ” ทำให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในตอนกลางวัน ถ้ามีการใช้ไฟฟ้า 10,000 เมกะวัตต์ จะเป็นการใช้ในส่วนของภาคธุรกิจ 35% คือ ประมาณ 3,500 เมกะวัตต์ ซึ่ง 50% ของธุรกิจเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ คิดเป็นการใช้ไฟฟ้าที่ 1,750 เมกะวัตต์ โดยครึ่งหนึ่งของการใช้ไฟฟ้าในส่วนของอาคารธุรกิจขนาดใหญ่มีตัวการที่ทำให้เกิดการใช้ไฟฟ้าสูงสุด คือ “เครื่องปรับอากาศ” หรือคิดเป็นการใช้ไฟฟ้าประมาณกว่า 800 เมกะวัตต์การริเริ่มเทคโนโลยีระบบเก็บกักพลังงานความเย็นด้วยน้ำแข็ง |
|
เป็นที่ยอมรับกันว่า พลังงานเป็นสิ่งที่มีค่าและให้ประโยชน์กับมนุษย์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จึงจำเป็นต้องนำมาประยุกต์ใช้เปลี่ยนรูปเป็นแหล่งพลังงานในรูปแบบต่างๆ ด้วยวิธีรการที่ชาญฉลาด เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ |
|
ทางบริษัท โอ.อี. เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด จึงหาแนวทางและคิดค้นนวัตกรรมการลดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการนำเทคโนโลยีแบบใหม่เข้ามาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงหรือลดการใช้ไฟฟ้าที่รู้จักในนาม Ice Thermal Storage (ระบบกักเก็บพลังงานความเย็นด้วยน้ำแข็ง) | |
Ice Thermal Storage (ระบบกักเก็บพลังงานความเย็นด้วยน้ำแข็ง) เพื่อนำมาใช้งานในระบบปรับอากาศและระบบหล่อเย็นในกระบวนการผลิตมีการนำมาใช้เนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้าช่วงเวลาที่อัตราค่าไฟฟ้าราคาต่ำ มาผลิตพลังงานความเย็นเก็บเอาไว้แล้วนำพลังงานความเย็นนี้ออกมาใช้งานปรับอากาศในช่วงเวลาที่อัตราค่าไฟฟ้ามีราคาสูงกว่า ดังนั้นระบบการเก็บพลังงานความเย็นจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อโครงสร้างของอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนมีความแตกต่างกัน หรืออัตราค่าไฟฟ้ามี Demand Charge ในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามาก มีความจูงใจเพียงพอที่จะให้ผลคุ้มต่อการลงทุนได้ ในหลายประเทศโครงสร้างของอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ กัน ในแต่ละวันจะแตกต่างกันไป ในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้ามากซึ่งเรียกว่า On-Peak Demand จะมีอัตราค่าไฟฟ้าสูงกว่าในช่วงเวลาที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อยซึ่งเรียกว่า Off-Peak Demand ถ้าเราสามารถนำความเย็นเก็บสะสมเอาไว้ในช่วงเวลา Off-Peak Demand แล้วนำพลังงานความเย็นนี้ ออกมาใช้ปรับอากาศในช่วงเวลาดังกล่าวจะลดลงได้มาก |
|
หลักการประหยัดพลังงานของผลิตภัณฑ์ Ice Thermal Storage | |
ผลิตภัณฑ์ Ice Thermal Storage จะเก็บกักพลังงานความเย็นในช่วงที่มีความต้องการในการใช้ความเย็นต่ำ (Low – Cooling Demand) แล้วนำไปใช้งานให้พอดีกับความต้องการในการใช้งานในกระบวนการผลิตหรือใช้ในระบบปรับอากาศ |
|
ประโยชน์ที่ได้รับจากการติดตั้งผลิตภัณฑ์ Ice Thermal Storage คือ |
|
|
|
|
|
ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเหมาะสำหรับกลุ่มโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ต้องการลดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเช่น |
|
|
|
ในปัจจุบันนี้ภาคเอกชนที่เริ่มใช้ระบบเก็บกักพลังงานความเย็นไปบ้างแล้ว คือ อาคารธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ อาคารสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ กฟผ. บางกรวย ใช้วิธีเก็บกักพลังงานความเย็นโดยการใช้น้ำขนาดทำความเย็น 1,500 ต้น/ชั่วโมง สามารถลดความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด 380 กิโลวัตต์ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถทำได้ |
|
สำหรับผลิตภัณฑ์นวัตกรรม Ice Thermal Storage ที่นำมาแสดงในงาน สามารถให้ความเย็นได้ถึง 20ตัน/ชั่วโมง ใช้งานได้ถึง 10 ชั่วโมง เหมาะสำหรับพื้นที่ใช้งานประมาณ 200 ตรม. และสามารถประหยัดส่วนต่างระหว่างค่าพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน On-Peak Demand กับค่าพลังงานในช่วงเวลากลางคืน Off-Peak Demand ในระบบ TOU ถึง 67.80% |