น้ำยาแอร์หรือสารทำความเย็น กับ CFC


          ในการลดและรักษาอุณหภูมิของบริเวณเป้าหมายให้ต่ำกว่าอุณหภูมิภายนอก ความร้อนจะต้องถูกดึงออกจากบริเวณนั้น โดยการถ่ายเทออกไปสู่วัตถุอย่างหนึ่ง วัตถุที่ทำหน้าที่นี้ก็คือ สารทำความเย็น
 
          สารทำความเย็น คือ ตัวพาความร้อนที่จะดึงเอาความร้อนออกจากห้องที่จะทำความเย็นไปสู่ข้างนอก พิจารณาวัฏจักร การอัด-ไอ สารทำความเย็นเป็นของไหลทำงาน (Work fluid) ของวัฏจักรซึ่งกลายเป็นไอและควบแน่นเมื่อมีการดูดซึม และการปล่อยความร้อนออกตามลำดับ
 
          สารหลายอย่างได้ถูกใช้เป็นสารทำความเย็นในอดีตมีการใช้อากาศแอมโมเนีย  ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ และเมทัลคอลไรด์เป็นสารทำความเย็น น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น (Refrigerant) หรือ ฟรีออน  (Freeon) มีชื่อเรียกต่างๆ กันตามองค์ประกอบที่ต่างกัน เช่น R-11, R-12, R-22, R-502
 
          แต่ปัจจุบันพบว่าสารเหล่านี้ คือ CFC  ทำให้เกิดปัญหากับโอโซนในชั้นบรรยากาศ ซึ่งห่อหุ้มโลกให้พ้นจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต และการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green House Effect) ซึ่งทำให้แสงอาทิตย์ที่เข้ามายังโลกไม่สามารถสะท้อนกลับออกสู่ภายนอก จึงมีการยกเลิกสารดังกล่าวบางตัวที่มีค่าความสามารถในการทำลายโอโซน ODP        (Ozone Depletion Potential) และ ความสามารถในการทำให้โลกร้อน GWP (Global Warming Potential) นั่นคือ R-11, R-12 และ R-502  ทั้งนี้ปัจจุบันยังคงใช้สาร R-22 กับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กอยู่ แต่คาดว่าจะถูกกำจัดไม่เกิน ค.ศ. 2030 หรือเร็วกว่านั้น
 
          อย่างไรก็ตามผลจากเรื่อง CFC นี้ ก่อให้เกิดการปฏิวัติในวงการปรับอากาศขนานใหญ่   ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศต้องทำวิจัยและออกแบบเครื่องปรับอากาศใหม่เพื่อ ให้เหมาะสมกับสารทำความเย็นใหม่ที่ไม่ใช่ CFC รวมถึงผู้ผลิตสารทำความเย็นที่ต้องพัฒนาผลิตสารทำความเย็นที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมน้อยลง  สารความเย็นตัวใหม่ที่มีคือ R-123 และ R-134a