ความชื้นกับสารทำความเย็น HFC


          ในปัจจุบันเริ่มมีการใช้สารทำความเย็นชนิด HFC กับน้ำมัน POE แทนสารทำความเย็นแบบเก่าชนิด HCFC/CFC กับน้ำมันMineral  ด้วยเหตุผลในแง่ของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปฏิกิริยาเรือนกระจก ซึ่งจะมีขั้นตอนการทำงานตลอดจนข้อควรระวังในการติดตั้งระบบทำความเย็น สำหรับสารทำความเย็นชนิดใหม่นี้ และจำเป็นจะต้องหาข้อมูลวิธีปฏิบัติให้ได้อย่างถูกต้อง

          ความชื้นเป็นตัวก่อปัญหาต่างๆ มากมายในระบบทำความเย็น ความชื้นที่มีปริมาณมาก เมื่อไหลผ่านอุปกรณ์ลดความดันในระบบ เช่น เทอร์โมสแตติก เอ็กซ์แปนชั่นวาล์ว หรือ ท่อแคปิลารี่จ ะเกิดเป็นเกล็ดน้ำแข็งและอุดตันทำให้ระบบทำความเย็นไม่สามารถทำงานต่อไปได้ นอกจากนี้ ความชื้นยังทำปฏิกิริยาเคมีกับสารทำความเย็นและน้ำมัน ทำให้คุณสมบัติทางเคมีของสารเหล่านี้เปลี่ยนไป และไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

          การเลือกใช้สาร HFC เป็นสารทำความเย็น จะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในเรื่องของความชื้น กล่าวคือ สาร HFC เป็นสารอิ่มตัว ซึ่งถือว่าเป็นข้อดี   เพราะไม่ค่อยทำปฏิกิริยากับความชื้นได้ง่ายๆ   แต่ข้อเสียคือ สาร HFC ต้องใช้คู่กับน้ำมัน POE ซึ่งน้ำมันชนิดนี้ สามารถเก็บสะสมปริมาณน้ำไว้ในตัวมันเองได้มากกว่าน้ำมันชนิด Mineral   จึงจำเป็นจะต้องดูแลระดับความชื้นเป็นพิเศษ Molecular Sieve 1 กรัม มีพื้นที่ผิวเท่ากับ 700 ตารางเมตร เมื่อพูดถึงสารที่เป็นตัวดูดความชื้นที่ดี ควรเป็นสารที่มีความสามารถ ดูดความชื้นได้ในทุกสถานะ ไม่ว่าจะอยู่ในโมเลกุลของของเหลวหรือก๊าซ  ในอดีตเราใช้โปรแตสเซียมคลอไรด์เป็นสารดูดความชื้น 

         แต่ปัจจุบันเรามีสารที่สามารถดูดซับได้ดีกว่า โดยใช้หลักการที่ว่า สารที่มีพื้นผิวภายในมากเท่าใดก็จะดูดซับความชื้นได้มาก ยิ่งขึ้นสารดูดความชื้นอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นกัน คือ Activated Aluminum Oxide เป็นสารที่มีคุณสมบัติที่นอกจากดูด ความชื้นได้แล้ว ยังสามารถดูดกรดอินทรีย์ได้อีกด้วย กรดที่ว่านี้อาจเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี หลังจากคอมเพรสเซอร์ไหม้ ซึ่งAluminum Oxide จะทำหน้าที่กลายสภาพของกรดให้เป็นกลาง แต่สาร Aluminum Oxide นี้ไม่เหมาะที่จะใช้กับสารทำความเย็น ชนิด HFC กับน้ำมัน POE เนื่องจาก Aluminum Oxide สามารถดูดซับสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบ Polar Molecular ได้ดี ดังนั้น Aluminum Oxide ก็จะดูดน้ำมัน POE จนอิ่มตัว และไม่สามารถทำงานต่อไปได้

         Sight Glass เป็นอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้บอกระดับความชื้นที่สะสมอยู่ในระบบทำความเย็น ในอดีตเราต้องการทราบระดับความชื้น เพียงเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีปริมาณความชื้นมากพอที่จะก่อให้เกิดเกล็ดน้ำแข็งขึ้นในระบบได้ ซึ่งสำหรับระบบที่ใช้สาร HFCเป็นสารทำความเย็น ค่านี้ถือว่าสูงมาก ปฏิกิริยา Hydrolysis จะเกิดขึ้นในขณะที่มีค่าความชื้นต่ำกว่าในระดับนี้มาก          

          ดังนั้น จึงไม่แนะนำให้เลือกใช้ Sight Glass แบบทั่วๆ ไปกับสาร HFC ควรต้องเลือกใช้ชนิดที่ถูกออกแบบเฉพาะและเปลี่ยน ความเข้มของสีได้เร็วกว่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ตาของคนเราไม่ใช่เครื่องมือวัดที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกำหนดจุดแบ่งระดับ ความชื้น ไม่สามารถกำหนดให้ชัดเจนได้ เนื่องจาก ก่อนที่ Sight Glass จะเปลี่ยนสีนั้น สีเดิมจะต้องเริ่มจางลงก่อน ซึ่งเป็นการยาก ที่จะเห็นได้เท่ากันทุกคน อย่างไรก็ตาม Sight Glass ถือว่าเป็นหน้าต่างของระบบและเป็นเครื่องมือชิ้นเดียวที่จะเตือนให้เราทราบว่าFilter Drive ไม่สามารถควบคุมระดับความชื้นในระบบได้แล้ว จึงควรให้ความสำคัญกับมันด้วยเช่นกัน