Chiller คืออะไร?

          ปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลืองคือสภาพภูมิอากาศ โดยประเทศ ไทยของเราซึ่งจัดว่าเป็นเมืองที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ส่งผลให้โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ จำเป็นจะต้องใช้ระบบปรับอากาศกันแทบทั้งสิ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ให้ความเย็นที่พอเหมาะเท่านั้น แต่เพื่อควบคุมคุณภาพของการผลิตด้วยและแน่นอนว่าจะต้องสิ้นเปลืองงบประมาณ เพื่อซื้อพลังงานไฟฟ้าเข้ามาใช้  ซึ่งสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่กว่าครึ่งหนึ่งของค่าไฟฟ้าทั้งหมดจะอยู่ที่ระบบปรับอากาศนั่นเอง และนั่นหมายถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น โดย Chiller เป็นระบบปรับอากาศประสิทธิภาพสูงที่ช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดงบประมาณสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
 
          Chiller คือ เครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ที่มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเย็นหรือปรับอุณหภูมิน้ำ เย็นและส่งไปยังเครื่องปรับอากาศที่มีอยู่ในห้องต่างๆ ของอาคารแต่ละอาคาร
 
          หลักการทำงานของ Chiller คือ จะนำสารทำความเย็น (ก๊าซเย็นความดันต่ำ) โดยอยู่ในสภาวะไออิ่มตัวมาอัดที่ตัว Compressor จากนั้นสารทำความเย็นจะถูกอัดโดยเครื่องอัด จนมีสภาวะเป็นไอร้อน (Superheated Vapor) มีความดันสูงและอุณหภูมิสูง หลังจากนั้นสารทำความเย็นจะเคลื่อนที่ผ่านเข้าไปในเครื่องควบแน่น (Condenser)เพื่อ ถ่ายเทความร้อนออกทำให้สารทำความเย็นเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวอิ่มตัวที่มี ความดันสูง จากนั้นของเหลวอิ่มตัวความดันสูงจะเคลื่อนที่ผ่านอุปกรณ์ขยายตัว (อุปกรณ์ลดแรงดัน) สารทำความเย็นจะมี 2 สถานะ คือ ของเหลวและก๊าซที่มีอุณหภูมิต่ำและความดันต่ำ หลังจากนั้นจะผ่านเข้าไปในเครื่องระเหย (Evaporator) ทำ ให้สารทำความเย็นรับความร้อนจากการโหลดนั้นๆ และกลายสภาพเป็นไออิ่มตัว  ซึ่งวัฏจักรการทำความเย็นจะดำเนินเช่นนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ตลอดเวลา  จึงทำให้ Chiller สามารถผลิตน้ำเย็นได้อย่างต่อเนื่อง จึงสามารถส่งน้ำเย็นนี้ไปจ่ายให้เครื่องปรับอากาศที่อยู่ตามอาคารต่างๆ ที่ไกลจากเครื่อง Chiller ได้ซึ่งเครื่อง Chiller เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของระบบปรับอากาศทั้งหมดที่ใช้พลังงานสูงมากถึง 52 %
 
          ปัจจุบัน Chiller รุ่นใหม่ๆ จะถูกออกแบบและพัฒนาให้มีค่ากิโลวัตต์ต่อตันของการทำความเย็นต่ำกว่า Chiller รุ่นเก่าจึงทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่ารุ่นเก่าประมาณ 20-30 % และอีกอย่างหนึ่ง Chiller รุ่นใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้สาร ทำความเย็นจำพวกที่ไม่มีสาร CFC ที่จะทำลายชั้นบรรยากาศของโลกได้อีกด้วย